ในชีวิตประจำวันเราจะพบข้อมูลหลากหลายซึ่งได้จากการสำรวจ การตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บ่อยครั้งเราอาจพบการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความ เช่น
ผลการศึกษาของสำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพบว่า การลงทุนในกิจการผลิตปลาร้าแปรรูปขนาดเล็กใช้เงินลงทุนประมาณ 2,800,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรประมาณ 60% ของเงินลงทุนซึ่งประกอบด้วยเครื่องจักร 1,000,000 บาทยานพาหนะและอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ 750,000 บาท ส่วนเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการประมาณ 1,050,000 บาท หรือประมาณ 40% ของเงินลงทุน
นอกจากนี้เราอาจพบการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความกึ่งตาราง เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับประจำวันพุทธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยประมาณของบางประเทศในเอเชียจากโรคซาร์ส เมื่อ พ.ศ. 2546 ซึ่งประเมินโดยนิตยสาร ฟาร์อีสเทิร์น อิโคโนมิค รีวิว แยกเป็นรายประเทศดังนี้
เกาหลีใต้ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 80,200 ล้านบาทจากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นว่า การนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความมีลักษณะเป็นความเรียงทำให้ข้อมูลที่เป็นปริมาณไม่เด่นชัด ต้องใช้เวลาในการอ่านและวิเคราะห์ ส่วนการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความกึ่งตาราง มีการแยกข้อมูลที่เป็นปริมาณให้เห็นเด่นชัดขึ้น
ถ้าต้องการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปริมาณให้ชัดเจน น่าสนใจและสามารถเปรียบเทียบข้อมูล ให้เห็นเป็นรูปธรรม ดูง่ายขึ้น เราอาจนำเสนอข้อมูลด้วย แผนภูมิรูปวงกลม โดยแทนปริมาณในข้อมูลทั้งหมดด้วยพื้นที่ในวงกลมหนึ่งวง และแบ่งพื้นที่ในวงกลมจากจุดศูนย์กลางออกเป็นส่วนของวงกลมย่อยๆตามส่วนของปริมาณที่นำเสนอ แล้วเขียนตัวเลขแสดงข้อมูลกำกับไว้
จากข้อมูลข้างต้นสามารถนำเสนอด้วยแผนภูมิรูปวงกลมได้ดังนี้
แผนภูมิแสดงมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยประมาณของบางประเทศในเอเชียจากโรคซาร์ส เมื่อ พ.ศ. 2546 (ล้านบาท)จากแผนภูมิเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ของวงกลมซึ่งแทนมูลค่าความเสียหายของแต่ละประเทศจะเห็นว่าพื้นที่ซึ่งแทนมูลค่าความเสียหายของประเทศไทยมีขนาดเล็กที่สุด แสดงว่ามูลค่าความเสียหายของประเทศไทยน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่นำมาแสดง และเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ซึ่งแทนมูลค่าความเสียหายของประเทศเกาหลีใต้กับพื้นที่ของวงกลมทั้งหมด จะเห็นว่ามีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ทั้งหมด แสดงว่าความเสียหายของเกาหลีใต้ประเทศเดียวมีมูลค่าประมาณหนึ่งในสามของความเสียหายทั้งหมด
ในทางปฏิบัติถ้าข้อมูลที่ต้องการนำเสนอโดยแผนภูมิรูปวงกลมเป็นปริมาณที่มีค่ามาก เรานิยมแสดงข้อมูลเหล่านั้นในรูปร้อยละของปริมาณในข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และให้เห็นการเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น