คณิตศาสตร์ ม.2 การดำเนินการของเลขยกกำลัง

การดำเนินการของเลขยกกำลัง

การคูณเลขยกกำลัง จากที่เคยหาผลคูณของเลยยกกำลังมาแล้วโดยใช้สมบัติดังนี้
เมื่อ a แทนจำนวนใดๆ m และ n แทนจำนวนเต็มบวก
am × an = a(m+n)
ต่อไปนี้เราจะพิจารณาสมบัติดังกล่าว เมื่อ m และ n แทนจำนวนเต็มใด ๆ
พิจารณาการหาผลคูณ am × an เมื่อ a ≠ 0 และกำหนด m และ n ดังนี้

1. กำหนด m = 0 และ n = 2
am × an = a0 × a2
a0 × a2 = 1 × a2
a0 × a2 = a2 หรือ a(0+2)

2. กำหนด m = -5 และ n = 0
am × an = a(-5) × a0
a(-5) × a0 = (1 / a5) × 1
a(-5) × a0 = 1 / a5
a(-5) × a0 = a(-5) × a(-5 + 0)

จากผลการคูณข้างต้น จะสังเกตเห็นว่าเลขชี้กำลังของผลคูณหาได้จากผลบวกของเลขชี้กำลังของเลขยกกำลังทั้งสองที่คูณกัน ซึ่งเป็นไปตามสมบัติของการคูณเลยยกกำลัง ดังนี้

เมื่อ a แทนจำนวนใดๆ m และ n แทนจำนวนเต็มบวก
am × an = a(m + n)

ตัวอย่าง จงหาผลคูณ 5(-10) × 125 ในรูปเลขยกกำลัง
วิธีทำ
5(-10) × 125 = 5(-10) × 53
5(-10) × 125 = 5(-10) + 3
5(-10) × 125 = 5(-7)

การหารเลยยกกำลัง จากที่เคยหาผลคูรของเลขยกกำลังมาแล้วโดยใช้สมบัติดังนี้
เมื่อ a แทนจำนวนใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ m และ n แทนจำนวนเต็มบวก
am ÷ an = a(m - n)

ต่อไปนี้เราจะพิจารณาสมบัติดังกล่าว เมื่อ m และ n แทนจำนวนเต็มใด ๆ
พิจารณาการหาผลคูณ am ÷ an เมื่อ a ≠ 0 และกำหนด m และ n ดังนี้

1. กำหนด m = 0 และ n = 3
am ÷ an = a0 ÷ a3
a0 ÷ a3 = a0 / a3
a0 ÷ a3 = 1 / a3
a0 ÷ a3 = a(-3) หรือ a(0 - 3)

2. กำหนด m = -5 และ n = 0
am ÷ an = a(-5) ÷ a0
a(-5) ÷ a0 = a(-5) / a0
a(-5) ÷ a0 = a(-5) / 1
a(-5) ÷ a0 = a(-5) หรือ a(-5 - 0)

จากการหาผลหารข้างต้น จะสังเกตเห็นว่าเลขชี้กำลังของผลหารหาได้จากเลขชี้กำลังของตัวตั้งลบด้วยเลขชี้กำลังของตัวหาร ซึ่งเป็นไปตามสมบัติของการหารเลขยกกำลัง ดังนี้

เมื่อ a แทนจำนวนใด ๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ m และ n แทนจำนวนเต็มบวก
am ÷ an = a(m - n)


comments


เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample