ทบทวนพหุนาม
การบวกและการลบพหุนาม
การหาผลบวกและผลลบของพหุนาม มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. การหาผลบวกของพหุนาม ทำได้โดยนำพหุนามมาเขียนในรูปการบวกและถ้ามีพจน์ที่คล้ายกัน ให้บวกพจน์ที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน
2. การหาผลลบของพหุนาม ทำได้โดยบวกพหุนามตัวตั้งด้วยพจน์ตรงข้ามของแต่ละพจน์ของพหุนามตัวลบ
ตัวอย่าง จงหาผลบวกและผลลบของ 3x
2 - 4x + 2 และ 7x – 3 โดยใช้พหุนามแรกเป็นตัวตั้ง
วิธีทำ
หาผลบวก
(3x
2 - 4x + 2) + (7x – 3) = 3x
2 - 4x + 2 + 7x – 3
(3x
2 - 4x + 2) + (7x – 3) = 3x
2 + 3x - 1
หาผลลบ
(3x
2 - 4x + 2) - (7x – 3) = 3x
2 - 4x + 2 + (-7x) + 3
(3x
2 - 4x + 2) - (7x – 3) = 3x
2 - 11x + 5
การคูณเอกนามกับพหุนาม
การหาผลคูณของเอกนามกับพหุนาม มีหลักเกณฑ์ดังนี้
การหาผลคูณระหว่างเอกนามกับพหุนามทำได้โดยนำเอกนามไปคูณแต่ละพจน์ของพหุนาม แล้วนำผลคูณเหล่านั้นมาบวกกัน
ตัวอย่าง จงหาผลคูณของ 2x กับ (-5x)
2 + 6x - 4
วิธีทำ
(2x)((-5x)
2 + 6x - 4) = (2x)[((-5x)
2) + 6x + (-4)]
(2x)((-5x)
2 + 6x - 4) = (2x)(-5x)
2 + (2x)(6x) + (2x)(-4)
(2x)((-5x)
2 + 6x - 4) = (-10x)
3 + (12x)
2 - 8x
การหารพหุนามด้วยเอกนาม
การหารพหุนามด้วยเอกนาม มีหลักเกณฑ์ดังนี้
การหาผลหารของพหุนามด้วยเอกนามที่ไม่เป็นศูนย์ ทำได้โดยหารแต่ละพจน์ของพหุนามด้วยเอกนาม แล้วนำผลหารเหล่านั้นมาบวกกัน ถ้าการหารพหุนามด้วยเอกนามได้ผลหารเป็นพหุนาม แล้วจะกล่าวว่าการหารนั้นเป็นการหารลงตัว
ความสัมพันธ์ของตัวหาร ผลหาร และตัวตั้งในกรณีที่เป็นการหารลงตัว เป็นดังนี้
ตัวหาร × ผลหาร = ตัวตั้ง
ตัวอย่าง จงหาร (18x)
3 - (27x)
2 + 3x ด้วย 3x
วิธีทำ
(18x)
3 - (27x)
2 + 3x / 3x = [(18x)
3 + ((-27x)
2) + 3x] / 3x
(18x)
3 - (27x)
2 + 3x / 3x = ((18x)
3 / 3x) + [((-27x)
2) / 3x] + (3x / 3x)
(18x)
3 - (27x)
2 + 3x / 3x = (6x)
2 + (-9x) + 1
(18x)
3 - (27x)
2 + 3x / 3x = (6x)
2 - 9x + 1