การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เราสนใจที่จะศึกษา ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมโดยวิธีใด ๆ ก็ได้ เช่น โดยการสัมภาษณ์ โดยการนับ โดยการลงทะเบียน หรือโดยการคัดลอกข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เราจำแนกข้อมูลได้ดังนี้
-
ข้อมูลเชิงประมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ที่ทำการศึกษา ซึ่งวัดออกมาเป็นจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณ หรือเปรียบเทียบได้ เช่น อายุ ความสูง น้ำหนัก คะแนน
-
ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติ หรือสภาวการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาในเชิงคุณภาพ เช่น เพศ ความเห็น ความเชื่อ ความสวย
นำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งยังไม่เป็นระบบ มาจัดเป็นหมวดหมู่ให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันตามวัตถุประสงค์ เพื่อสะดวกแก่การอ่านทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ และแปลความหมายเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป โดยแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
-
การนำเสนอแบบมีแผน เป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์
-
การนำเสนอแบบไม่มีแบบแผน เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์
การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง
การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง คือ การจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบดูง่ายขึ้นในรูปตารางดังตัวอย่าง
ตัวอย่าง มีนักเรียน 20 คน มีอายุดังนี้
13, 14, 16, 15, 13, 14, 16, 15, 13, 14, 17, 15, 15, 14, 16, 15, 15, 16, 14, 13
เราสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง ได้ดังนี้
อายุ(ปี) |
จำนวนนักเรียน(ปี) |
13 |
4 |
14 |
5 |
15 |
6 |
16 |
4 |
17 |
1 |
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิรูปภาพ
การนำเสนอข้อมูลแบบนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปภาพแทนจำนวนข้อมูลที่นำเสนอ เพื่อเร้าความสนใจแก่บุคคลทั่วไป
การนำเสนอข้อมูลแบบนี้ มีข้อบกพร่อง คือ ถ้ารูปภาพแต่ละรูปแทนจำนวนมาก ๆ จะทำให้คลาดเคลื่อนจากข้อมูลจริงมากด้วย
ตัวอย่าง จงเขียนแผนภูมิรูปภาพแสดงจำนวนนิสิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งปี 2530 ดังนี้
นิสิตปีที่ 1 จำนวน 350 คน
นิสิตปีที่ 2 จำนวน 270 คน
นิสิตปีที่ 2 จำนวน 400 คน
นิสิตปีที่ 4 จำนวน 550 คน
เราสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิรูปภาพ ได้ดังนี้
ชั้นปีที่ |
จำนวนนิสิต |
ปีที่ 1 |
    |
ปีที่ 2 |
   |
ปีที่ 3 |
    |
ปีที่ 4 |
      |
แทนนิสิต 100 คน |
ข้อสังเกต
1. ใช้รูปภาพแทนจำนวนข้อมูลจริง เช่น รูปภาพคน 1 ภาพแทนจำนวนคน 100 คน หรือ 1,000 คน แล้วแต่ความเหมาะสม
2. ภาพที่ใช้ต้องเป็นภาพที่มีลักษณะสมมาตร คือ เมื่อแบ่งครึ่งแล้ว 2 ข้างเหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการแบ่งภาพตามจำนวนที่ต้องการได้สะดวก
3. ควรใช้แผนภูมิรูปภาพกับข้อมูลที่มีจำนวนมาก และลงตัวเป็นจำนวนเต็มง่าย ๆ
4. ภาพที่ใช้ต้องมีขนาดเดียวกัน เหมือนกันทุกประการ
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปสี่เหลี่ยมฉากหลาย ๆ รูปเรียงกันตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้โดยแต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน แต่ความยาวเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนข้อมูล
แผนภูมิแท่งจะนำเสนอข้อมูลได้ละเอียด อ่านง่าย และยังเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลได้หลายรายการด้วย
โดยปกตินิยมเขียนจำนวนหรือปริมาณของข้อมูลหนึ่ง ๆ ไว้บนปลายแท่ง เพื่อให้อ่านจำนวนข้อมูลได้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิกงหรือการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนรูปวงกลม
การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิกง คือ การนำเสนอข้อมูลโดยใช้วงกลมแสดงปริมาณโดยแบ่งเนื้อที่ของวงกลมเป็นส่วนย่อยสัมพันธ์กับปริมาณ ในแต่ละส่วนย่อยที่แบ่ง นิยมเขียนตัวเลขกำกับไว้และคิดเนื้อที่ของวงกลมเป็น 100% การแบ่งเนื้อที่วงกลมเป็นส่วนย่อย ๆ นั้นจะแบ่งโดยใช้จุดศูนย์กลางเป็นหลัก
หลักการในการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิกง
1. ให้จำนวน 100% เทียบกับมุมที่จุดศูนย์กลาง 360°
2. หรือให้จำนวนผลรวมของปริมาณทั้งหมดที่ต้องการแสดงเท่ากับ 360°
3. เทียบหาว่าปริมาณแต่ละปริมาณหรือจำนวนเปอร์เซ็นย่อย ๆ แต่ละจำนวนเป็นกี่องศาโดยเทียบบัญญัติไตรยางค์
4. ลงปริมาณที่ต้องการแสดงตามองศาที่เทียบได้ในวงกลม
