คณิตศาสตร์ ม.4 การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการให้เหตุผลโดยนำข้อความที่กำหนดให้ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นจริงทั้งหมด มาเป็นข้ออ้างและสนับสนุนเพื่อสรุปเป็นข้อความจริงใหม่ ข้อความที่เป็น ข้ออ้างเรียกว่า เหตุ และข้อความจริงใหม่ที่ได้เรียกว่า ผลสรุป หรือข้อสรุป ซึ่งถ้าพบว่าเหตุที่กำหนดนั้นบังคับให้เกิดผลสรุป แสดงว่า การให้เหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผล แต่ถ้าพบว่าเหตุที่กำหนดนั้นบังคับให้เกิดผลสรุปไม่ได้ แสดงว่า การให้เหตุผลดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล

ตัวอย่าง
เหตุ 1 : คนทุกคนต้องหายใจ
2 : นายเด่นเป็นคน
ผลสรุป : นายเด่นต้องหายใจ
จะเห็นได้ว่า จากเหตุ 1 และเหตุ 2 บังคับให้เกิดผลสรุป ดังนั้นการให้เหตุผลนี้สมเหตุสมผล

ตัวอย่าง
เหตุ 1 : คนทุกคนต้องหายใจ
2 : ไมค์หายใจได้
ผลสรุป : ไมค์เป็นคน
จะเห็นได้ว่า จากเหตุ 2 ไมค์หายใจได้ และจากเหตุ 1 ระบุว่าคนทุกคนต้องหายใจได้ หมายความว่า คนทุกคนเป็นสิ่งที่หายใจได้ นั่นคือสิ่งที่หายใจได้อาจมีหลายสิ่ง และการที่ไมค์หายใจได้ ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า ไมค์จะต้องเป็นคนเสมอไป อาจเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่คนแต่หายใจได้ ก็อาจเป็นได้ ดังนั้นจะเห็นว่า เหตุ 1 และเหตุ 2 บังคับให้เกิดผลสรุปไม่ได้ แสดงว่า การให้เหตุผลนี้ไม่สมเหตุสมผล

ข้อสังเกต ผลสรุปสมเหตุสมผลไม่ได้ประกันว่าข้อสรุปจะต้องเป็นจริงเสมอไป เราจะใช้วิธีการตรวจสอบว่าผลสรุปสมเหตุสมผลโดยใช้แผนภาพของ เวนน์ - ออยเลอร์ โดยวาดแผนภาพตามเหตุทุกกรณีที่เป็นไปได้แล้วพิจารณาว่าแผนภาพแต่ละกรณีแสดงผลสรุปตามที่กำหนดให้หรือไม่ ถ้าทุกแผนภาพแสดงผลสรุปตามที่กำหนดกล่าวว่า ผลสรุปสมเหตุสมผล แต่ถ้ามีบางแผนภาพไม่แสดงผลสรุปตามที่กำหนดให้จะกล่าวว่า ผลสรุปไม่สมเหตุสมผล


comments


เว็บเพื่อนบ้าน
DoesystemDevcodeMathMySelfHowToClicksBlogJavaExample